วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวสถานการณ์น้ำท่วมในไทยวิกฤต

ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวสถานการณ์น้ำท่วมในไทยวิกฤตสุดในรอบ50ปี มีผู้เสียชีวิตเฉียด300คน
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานเหตุการณ์น้ำท่วมในไทยว่า มียอดผู้เสียชีวิตเลวร้ายที่สุดในรอบ50ปี ตัวเลขเมื่อเช้าวันอาทิตย์อยู่ที่ 297คน เกิดฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่องมานาน 2 เดือน ประชาชน 8 ล้าน 5 แสนคน ใน 61จังหวัด ต่างได้รับความเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม
         
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่ายังจะมีฝนตกในบางจังหวัด และในกรุงเทพฯ ส่วนเมืองเก่าอย่างประวัติศาสตร์อย่างอยุธยา หนึ่งในพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด กองทัพต้องใช้รถบรรทุกทหารแล่นไปตามถนนสายหลักที่ได้กลายเป็นแม่น้ำเพื่อนำความช่วยเหลือไปยังประชาชนที่อยู่ห่างไกล
คนที่มีเรือได้ใช้เป็นพาหนะในการนำของบรรเทาทุกข์ หรือไม่ก็ช่วยเพื่อนบ้านขนทรัพย์สินที่จำเป็นออกจากบ้านที่ถูกน้ำท่วม มีหลายคนใช้แผ่นโฟมอุตสาหกรรมแทนเรือ ส่วนในกรุงเทพฯ ได้มีการขุดลอดคลองและทำคันกั้นน้ำกันอย่างขะมักเขม้นเพื่อป้องกันเมืองหลวง ที่สามโคก ซึ่งอยู่กรุงเทพฯชั้นนอก ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาที่กระแสน้ำกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และกำแพงน้ำอีกด้านหนึ่งที่สูงประมาณ 2.5 เมตร และกลายเป็นกันชนป้องกันกรุงเทพฯชั้นใน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์อยู่ในขณะนี้ แต่ระดับน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
         
ปกติแล้วไทยจะเจอน้ำท่วมทุกปีในช่วงฤดูมรสุม แต่ปีนี้รุนแรงที่สุด คนไทยทั่วประเทศช่วยกันบริจาคอาหาร น้ำดื่ม และเสื้อผ้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ทางการระบุว่า ยอดเงินบริจาคสูงกว่าหลายปีที่ผ่านมามาก โดยได้รับเงินแล้วกว่า 60 ล้านบาท
         
สหรัฐระบุว่า ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์จำนวน 26 ลำ ไปช่วยด้านการบรรเทาทุกข์ เนื่องจากถนนหลายสายกลายเป็นแม่น้ำ และไม่สามารถผ่านได้ ส่วนหน่วยงานของสหประชาชาติ ได้เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือ และองค์การอนามัยโลก ได้เสนอให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเร่งด่วน

โจ๋ 17 ถูกกระสุนปืน ดับปริศนา ใต้ถุนแฟลตดินแดน

     เมื่อ เวลา 05.00 น. ร.ต.อ.นิรภัย ธะกอง พนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง รับแจ้งเกิดเหตุยิงกันมีผู้เสียชีวิต เหตุเกิดบริเวณใต้แฟลตการเคหะอาคาร 1 แขวงและเขตดินแดง กทม. จึงรุดไปตรวจสอบพร้อม พ.ต.อ.บุญส่ง นามกรณ์ ผกก.สน.ห้วยขวาง เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน แพทย์นิติเวช รพ.รามาธิบดี เจ้าหน้าที่กู้ภัยป่อเต็กตึ้ง

     ที่เกิด
เหตุบริเวณม้านั่งหินอ่อนได้ถุนแฟลตดังกล่าวพบศพนายวราห์ นนท์ภายวัน อายุ 17 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2031/73 ถ.ประชาสงค์เคราะห์ แขวงและเขตดินแดง กทม. สภาพศพนอนตะแคงซ้าย สวมเสื้อยืดสีดำ กางเกงยีนส์ขายาวสีดำ มีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด .38 เข้าบริเวณขมับขวาทะลุท้ายทอย 1 นัด หัวกระสุนตกอยู่ห่างจากศพประมาณ 3 เมตร เจ้าหน้าที่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ใกล้กันบนโต๊ะหินอ่อนพบร่องรอยการตั้งวงดื่มสุรา ข้าวของหล่นกระจัดกระจาย

     พ.ต.อ.
บุญส่ง กล่าวว่า ผู้ตายเป็นลูกชายของ ด.ต.วัชระ นนท์ภายวัน ผบ.หมู่งานจราจร สน.ห้วยขวาง ก่อนเกิดเหตุเวลา 21.00 น.วันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ผู้ตายได้มาตั้งวงดื่มสุรากับเพื่อน กระทั่งเวลา 05.00 น.ได้เกิดเหตุยิงกัน และพบศพผู้ตายในที่เกิดเหตุ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนได้นำตัวเพื่อนที่ร่วมวงดื่มสุรากับผู้ ตายไปสอบปากคำ จากการสอบสวนพยาน ทราบว่าก่อนเกิดเหตุตั้งแต่ช่วงหัวค่ำได้มีกลุ่มวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูก ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ห้วยขวาง ประมาณ 5-6 คน ได้มาตั้งวงสุรากันและมีการนำปืนมาเพื่อเล่นรัสเซียนรูเล็ตหรือการใส่กระสุน
ในรังเพลิงเพียงนัดเดียวแล้วหมุนปากกระบอกปืนพลัดกันยิง

     
พ.ต.อ. บุญส่ง กล่าวต่อว่า จนกระทั่งเวลาประมาณ 22.00 น. ผู้ตายได้ลงมาร่วมวงด้วยแต่ถึงคราวเคราะห์ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวพบว่าไม่ได้เกิดจากการขัดแย้งจากคู่อริหรือฝ่ายตรง ข้าม ซึ่งหลังเกิดเหตุได้ติดตามตัวมาสอบสวนได้แล้วบางส่วน ส่วนใหญ่ยังเป็นเยาวชนซึ่งทั้งหมดได้ให้การตรงกัน ด้านปืนที่ใช้ก่อเหตุนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ เพราะหลังเกิดเหตุยังไม่พบปืนที่ใช้ก่อเหตุ ส่วนผู้ที่ก่อเหตุยิงนั้นอยู่ระหว่างติดตามตัวคาดว่าคงติดต่อเข้ามอบตัว เร็วๆนี้

คำสารภาพแม่เลี้ยง ฆ่าปาดคอเด็กหญิง 13

คำสารภาพแม่เลี้ยงโหด ลวงฆ่าปาดคอดญ.13 แค้นพ่อมาลงลูกเลี้ยง

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

หลังเกิดเหตุเพียง 1 วัน ตำรวจก็สามารถตามจับกุม นางอริษา สร้อยสน อายุ 28 ปี แม่เลี้ยงใจร้ายที่ลงมือฆ่าปาดคอ เด็กหญิงหัทยา คำพีระพงษ์ อายุ 13 ปี ลูกเลี้ยง ทิ้งศพหมกคลองในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เอาไว้ได้สำเร็จ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้คนในครอบครัว "คำพีระพงษ์" หัวใจแทบสลาย ทั้งนี้ สาเหตุเกิดจากในช่วงหลังพ่อเด็กเริ่มมีปัญหาขัดแย้งกับนางอริษา เมื่อทุกอย่างบานปลายสุดท้ายนางอริษาจึงหาโอกาสลวงเด็กหญิงหัทยาไปฆ่า เพื่อประชดสามีให้รู้จักคำว่า "เสียใจ"

ย้อนไปดูเหตุการณ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นตอนเช้าวันที่ 7 มิถุนายน ตำรวจ สภ.บางระกำ รับแจ้งเหตุพบศพนักเรียนหญิงถูกฆ่าปาดคอลอยน้ำอยู่ในคลอง จึงรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ พบศพเด็กหญิงหัทยา คำพีระพงษ์ นักเรียนชั้นม.1 โรงเรียนจ่านกร้อง ถูกฆ่าปาดคอทิ้งน้ำ โดยจุดที่พบศพพบคราบเลือดหยดเป็นทาง และยังพบเสื้อนักเรียนของผู้ตายลอยอยู่ในน้ำ

หลังพบศพได้ไม่นาน นายธนาดร คำพีระพงษ์ อายุ 43 ปี พ่อของเด็กหญิงหัทยาได้รุดเดินทางมาดูศพทั้งน้ำตา พร้อมละล่ำละลักเล่าว่า ลูกสาวหายออกจากบ้านไปตั้งแต่ตอนเย็นวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยตอนเช้าได้เดินทางไปโรงเรียนด้วยรถรับส่งตามปกติ แต่ตอนเย็นไม่ได้กลับบ้าน จึงพยายามตามหาที่บ้านเพื่อนลูกก็ไม่พบ
จนกระทั่งมาพบอีกทีก็กลายเป็นศพไปเสียแล้ว ทั้งนี้ ตำรวจได้สอบปากคำเพื่อนร่วมชั้นเรียนของผู้ตาย ได้ความมาว่า ในวันที่ 6 มิถุนายน ทางโรงเรียนปล่อยนักเรียนกลับบ้านเร็วกว่าปกติ โดยตอนบ่าย 3 โมง มีคนเห็นผู้หญิงขับรถเก๋งฮอนด้าแจ๊ซ สีดำ จำหมายเลขทะเบียนตัวหลัง คือ เลข 7 เป็นคนขับมารับเด็กหญิงหัทยาก่อนหายตัวไป

ตำรวจจึงเช็กหาที่มาที่ไปรถเก๋งคันดังกล่าวทันที จึงรู้ว่าเป็นรถของพ่อเด็กหญิงหัทยานั่นเอง ซึ่งนายธนาดรได้ให้นางอริษาภรรยาคนใหม่ใช้นานแล้ว ตำรวจจึงตามไปยึดรถและควบคุมตัวนางอริษามาสอบปากคำทันที และหลังจากตรวจสอบรถพบว่ามีคราบเลือดติดอยู่ที่เบาะนั่งด้านข้างคนขับ และจากการตรวจสอบร่างกายนางอริษา ยังพบด้วยว่า ที่ซอกเล็บมีคราบเลือดเปื้อนอยู่ จึงควบคุมนางอริษามาดำเนินคดี

โดยนางอริษาให้การรับสารภาพพร้อมกับกล่าวว่าฉันเป็นคนฆ่าเขาเอง ทำเพราะโกรธแค้นที่นายธนาดร ไปให้ความสำคัญกับลูกมากกว่าเมีย ระยะ หลังนายธนาดรกลับมาอยู่กับลูกโดยไม่สนใจฉัน เลยเกิดความน้อยใจลวงลูกสาวนายธนาดรไปฆ่าเพื่อประชด ซึ่งตอนที่กำลังลังเลว่าจะทำอย่างไรเด็กหญิงหัทยาท้าบอกว่าถ้าฆ่าไม่ตาย จะไปฟ้องพ่อ จึงมีปากเสียงกัน ฉันจึงชักมีดที่เตรียมมาปาดคอทันที ก่อนจะหลบหนีและย้อนกลับมาดูศพพร้อมคนอื่นๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

การจากไปของ ด.ญ.หัทยา สร้างความเศร้าใจให้นางศรีไพร สงวนสิน ผู้เป็นแม่ยิ่งนัก หลังเกิดเหตุนางศรีไพร รุดเข้าให้การกับเจ้าหน้าที่ทั้งน้ำตา บอกรับไม่ได้ที่ต้องเสียลูกสาวไปแบบนี้ โดยนางศรีไพร บอกว่า ก่อนหน้านี้เคยเตือนอดีตสามีตลอด ว่าให้ระวังจะมีปัญหา เพราะในระยะหลังอดีตสามีหอบเสื้อผ้ามาอยู่กับลูกสาวที่บ้าน โดยไม่ยอมกลับไปหานางอริษา เลยอาจทำให้นางอริษาโกรธแค้นจึงไปตีสนิทลูกสาวแล้วลวงไปฆ่า เพื่อให้อดีตสามีรู้จักคำว่าเสียใจ

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติ คือ ส่วนผสมของก๊าซไฮโดรคาร์บอน และสิ่งเจือปนต่างๆในสภาวะก๊าซ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น สิ่งเจือปนอื่นๆที่พบในก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดซัลไฟด์ ฮีเลียม ไนโตรเจนและไอน้ำ เป็นต้น การที่ก๊าซธรรมชาติได้ชื่อว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเนื่องจากเป็นสารที่มีส่วนประกอบของอะตอม 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน (H) กับ คาร์บอน (C) รวมตัวกันในสัดส่วนของอะตอมที่ต่างๆกัน โดยเริ่มตั้งแต่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันดับแรกที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอม กับ ไฮโดรเจน 4 อะตอม มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ก๊าซมีเทน"
ก๊าซธรรมชาติ ที่ได้จากแต่ละแหล่งอาจประกอบด้วยก๊าซมีเทนล้วนๆ หรืออาจจะมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆปนอยู่บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ แต่ละแห่งเป็นสำคัญ แต่โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนตั้งแต่ 70 เปอร์เซนต์ขึ้นไป และมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นปนอยู่บ้าง ก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทนและอีเทนเกือบทั้งหมด เรียกว่า “ก๊าซแห้ง (dry gas)” แต่ถ้าก๊าซธรรมชาติใดมีพวก โพรเพน บิวเทน และพวกไฮโดรคาร์บอนเหลว หรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ เช่น เพนเทน เฮกเทน ฯลฯ ปนอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง เรียกก๊าซธรรมชาตินี้ว่า “ก๊าซชื้น (wet gas)”



ก๊าซธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยมีเทนหรืออีเทน หรือที่เรียกว่าก๊าซแห้งนั้น จะมีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น การขนส่งจึงจำเป็นต้องวางท่อส่งก๊าซ ส่วนก๊าซชื้นที่มีโพรเพนและบิวเทน ซึ่งทั่วไปมีปนอยู่ประมาณ 4 – 8 เปอร์เซ็นต์ จะมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เช่นกัน เราสามารถแยกโพรเพน และบิวเทน ออกจากก๊าซธรรมชาติได้ แล้วบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกก๊าซนี้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG ซึ่งก็คือ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันในครัวที่บ้านนั่นเอง)



ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวหรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันว่า "คอนเดนเซท" (Condensate) คือ พวกไฮโดรคาร์บอนเหลว ได้แก่ เพนเทน เฮกเซน เฮปเทน และอ๊อกเทน ซึ่งมีสภาพเป็นของเหลว เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อ บนแท่นผลิต สามารถแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ ได้บนแท่นผลิต การขนส่งอาจลำเลียงทางเรือหรือส่งไปตามท่อได้





องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ

(ส่วนประกอบที่ไม่ใช่ ไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

อยู่ด้านล่างของภาพ)

ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร

ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการสะสมและทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปี ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล


x

ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถม และเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบ ของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า 

ขอขอบคุณข้อมูลจากวิชาการ.คอม  http://www.vcharkarn.com/varticle/322

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ถ่านหิน

ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ ๔ อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี
1. ประเภทของถ่านหิน
ถ่านหินสามารถแยกประเภทตามลำดับชั้นได้เป็น ๕ ประเภท คือ
  1. พีต (Peat) เป็นขั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน ประกอบด้วยซากพืชซึ่งบางส่วนได้สลายตัวไปแล้วสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
  2. ลิกไนต์ (Lignite) มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง
  3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous) มีสีดำ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้า
  4. บิทูมินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินเนื้อแน่น แข็ง ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการถลุงโลหะ
  5. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่มีลักษณะดำเป็นเงา มันวาวมาก มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย ติดไฟยาก
2. การใช้ประโยชน์ถ่านหิน
ถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งสำรองกระจายอยู่ทั่วโลกและปริมาณค่อนข้างมาก การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ่านหินราคาถูกกว่าน้ำมัน ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ และการผลิตอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา และการแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
3. แหล่งถ่านหินในประเทศไทย
ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มีปริมาณสำรองทั้งสิ้น ประมาณ 2,197 ล้านตัน แหล่งสำคัญอยู่ในภาคเหนือประมาณ 1,803 ล้านตัน หรือร้อยละ 82 ของปริมาณสำรองทั่วประเทศ ส่วนอีก 394 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 18 อยู่ภาคใต้ ถ่านหินส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำอยู่ในขั้นลิกไนต์และซับบิทูมินัส มีค่าความร้อนระหว่าง 2,800 - 5,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม หรือ ถ่านลิกไนต์ 2 - 3.7 ตัน ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตา 1 ตัน ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ จัดว่าเป็นลิกไนต์ที่คุณภาพแย่ที่สุด พบว่าส่วนใหญ่ มีเถ้าปนอยู่มากแต่มีกำมะถันเพียงเล็กน้อย คาร์บอนคงที่อยู่ระหว่างร้อยละ 41 - 74 ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 30 และเถ้าอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 45 โดยน้ำหนัก ในช่วงที่ราคาน้ำมันยังไม่แพงประเทศไทยไม่นิยมใช้ลิกไนต์มากนักแต่ภายหลังที่เกิดวิกฤติน้ำมัน จึงได้มีการนำลิกไนต์มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แหล่งถ่านหินที่มีการสำรวจพบบางแหล่งได้ทำเหมืองผลิตถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว แต่บางแหล่งยังรอการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป

การเกิดปิโตรเลียม


การเกิดปิโตรเลียม
.....เรารู้จักผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำมันก๊าดน้ำมันเบนซินยางมะตอยแต่เราไม่เคยเห็น
ปิโตรเลียมตามธรรมชาติเลย
....ปิโตรเลียม ประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นของเหลวข้นๆสีดำๆก๊าซธรรมชาติเหลวจะอยู่ชั้นบน
ของปิโตรเลียมและเกิดจากการกลั่นตัวตามธรรมชาติของน้ำมันดิบ
....ปิโตรเลียมเกิดจากซากพืชซากสัตว์ตายทับถมกันภายใต้พื้นพิภพเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นชั้นหินด้วยความกดดันสูงอันเกิดจากการเคลื่อนตัวและหดตัวของชั้นหินและอุณหภูมิใต้พิภพ สารอินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธาตุไฮโดรเจนและไฮโดรคาร์บอน
จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างช้า ๆ แปรสภาพเป็นก๊าซและน้ำมันดิบสะสมและซึมผ่านชั้นหินที่เป็นรูพรุน เช่น ชั้นหินทราย
และชั้นหินปูนไปสู่แอ่งหินที่ต่ำกว่า จากนั้นค่อย ๆ สะสมตัวอยู่ระหว่างชั้นหินที่หนาแน่น ซึ่งไม่สามารถซึมผ่านไปได้อีก โดยปกติ
ปริมาณการสะสมตัวจะมี 5.25 % ของปริมาตรหิน เนื่องจากปิโตรเลียมถูกบีบอัดด้วยชั้นหินต่าง ๆ มันจะพยายามแทรกตัว
ขึ้นมายังผิวโลกตามรอยแตกของชั้นหิน เว้นแต่ว่ามันจะถูกปิดกั้นด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ซึ่งทำให้มันถูกกักไว้ใต้ผิวโลก
.... ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินใต้ผิวโลกที่เหมาะสมในการเกิดปิโตรเลียม คือ ชั้นหินรูปโค้งประทุนคว่ำ
(anticlinal trap)โครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน (fault trap) โครงสร้างรูปโดม (domal trap) และโครงสร้างรูปประดับชั้น
(stratigraphic trap)
.....โครงสร้างรูปโค้งประทุนคว่ำ เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้ชั้นหินมีรูปร่างโค้งคล้ายกะทะคว่ำหรือหลังเต่า
น้ำมันและแก๊สจะเคลื่อนเข้าไปรวมตัวกันอยู่ในส่วนโค้งก้นกะทะ โดยมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่
......โครงสร้างรูปประดับชั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกในอดีต ชั้นหินกัก
เก็บน้ำมันจะถูกล้อมเป็นกะเปาะอยู่ระหว่างชั้นหินเนื้อแน่น
......โครงสร้างรูปโดม เกิดจากการดันตัวของชั้นหินเกลือ ผ่านชั้นหินกักเก็บน้ำมันซึ่งตามปกติจะเป็นรูปโดม น้ำมันและ
แก๊สจะสะสมอยู่ด้านข้างของโดมชั้นเกลือ
......โครงสร้างรูปรอยเลื่อน เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้ชั้นหินเคลื่อนไปคนละแนว การที่น้ำมันและแก๊ส
ถูกกักเก็บอยู่ได้ เพราะมีชั้นหินเนื้อแน่นเลื่อนมาปิดชั้นหินที่มีรูพรุนทำให้น้ำมันและแก๊สถูกกักเก็บอยู่ในช่องที่ปิดกั้น
การกลั่นปิโตรเลียม
.....ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ได้จากหลุมผลิตที่เจาะพบใต้พิภพ จะต้องผ่านกรรมวิธีก่อนนำมาใช้ เช่น ปิโตรเลียม
จากฐานขุดเจาะในทะเลจะส่งผ่านไปแยกแก๊ส น้ำและสิ่งสกปรกออกจากน้ำมันดิบแล้วจึงถูกส่งผ่านไปยังสถานีแยกปิโตรเลียมที่ชายฝั่ง
ที่สถานีนี้ปิโตรเลียมจะถูกแปรสภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ ตามต้องการเพื่อความสะดวกและเหมาะสมต่อการ
ใช้ประโยชน์ การแยกน้ำมันดิบคือการแยกส่วนประกอบน้ำมันดิบด้านกายภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะแยกโดยวิธีการกลั่นลำดับส่วน
ซึ่งใช้หลักนำน้ำมันดิบมากลั่นในหอกลั่นบรรยากาศ น้ำมันดิบจะถูกแยกตัวออกเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่มีช่วงจุดเดือดต่าง
กันนั่นคือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในน้ำมันดิบ จะมีระดับการกลั่นที่อุณหภูมิแตกต่างกันตั้งแต่
ลบ 157 องศาเซลเซียส ขึ้นไปจนถึงหลายร้อยองศาเซลเซียส ....กระบวนการกลั่นแยกส่วน ปิโตรเลียมจะถูกส่งผ่านเข้าไปในท่อเหล็กซึ่งเรียงอยู่เป็นแถวในเตาเผาและมีความร้อนขนาด
315 - 371 องศาเซลเซียส (600 - 700 องศาฟาเรนไฮต์) หลังจากนั้น น้ำมันดิบและไอน้ำร้อนจะไหลผ่านไปในหอกลั่น
บรรยากาศ ซึ่งมีถาดเรียงกันเป็นชั้น ๆ หลายสิบชั้น ไอร้อนที่จะกลั่นตัวเป็นของเหลวในถาดชั้นใด ตามอุณหภูมิของจุดเดือด
ของน้ำมันในส่วนนั้น ชั้นยอดสุดซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดจะเป็นแก๊ส รอง ๆ ลงไปจะเป็นเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
น้ำมันหล่อลื่น และยางมะตอย ตามลำดับ
.....สำหรับก๊าซธรรมชาติจะนำมาแยกออกเป็นแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น อีเทน (Ethane) ใช้เป็นวัตถุดิบ
ทำอุตสาหกรรมเปโตรเคมีคัลเพื่อผลิตเคมีภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ โพรเพน (propane) และบิวเทน (butane)
แยกเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลวหรือแก๊สหุงต้ม (liquified petroem gas-LPG)
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
.....ในที่นี้จะกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเท่านั้น คือ แก๊ส L.P.G.หรือแก๊สหุงต้มน้ำมันเบนซินน้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา
.....แก๊ส L.P.G. หรือแก๊สหุงต้ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเดือดต่ำมาก มีสภาพเป็นแก๊สในอุณหภูมิห้องดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องเพิ่มความดัน หรือลด
อุณหภูมิให้ก๊าซปิโตรเลียมเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา แก๊สนี้เป็นแก๊สผสมระหว่างก๊าซโพรเพน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 3 อะตอม
กับก๊าซบิวเทน ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 4 อะตอม เมื่อเวลาลุกไหม้จะให้ความร้อนสูง และมีเปลวที่สะอาด ปกติไม่มีสีไม่มีกลิ่น แต่เพื่อให้เป็นที่สังเกตง่ายเมื่อรั่ว
ผู้ผลิตจึงใส่กลิ่นเข้าไป ประโยชน์ ใช้เป็นแก๊สหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์รวมทั้งเตาเผา เตาอบต่าง ๆ
.....น้ำมันเบนซิน (gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์มาก โดยใช้จุดระเบิดที่หัวเทียน น้ำมันเบนซินประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ชนิดหนึ่งมีจำนวน 8 อะตอมใน 1 โมเลกุล เรียกว่า ไอโซออกเทน น้ำมันเบนซินที่มีไอโซออกเทนบริสุทธิ์จะมีสมบัติในการทำงานกับเครื่องยนต์ดีมาก
เราเรียกว่ามีออกเทนนัมเบอร์เป็น 100 จะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ เบนซินชนิดนี้จะมีราคาแพง หากน้ำมันเบนซินที่มีไฮโดรคาร์บอนน้อยกว่า 8 อะตอมใน
1 โมเลกุล มีค่าออกเทนนัมเบอร์ต่ำ จะทำให้มีราคาถูก เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่ดี จึงมีการเติมสารบางชนิดลงไปในเบนซินคุณภาพต่ำเพื่อให้มีคุณภาพดี
ใกล้เคียงกับเบนซินที่มีออกเทนนัมเบอร์สูง สารที่นิยมเติมกันมากคือ เตตระเอธิลเลต ซึ่งประกอบด้วยตะกั่วจะมีผลต่อมลภาวะอากาศ หากใช้สารเมทิลเทอร์-
เธียรีมิวทิลอีเธน หรือเอ็มทีบีอีเติมแทน จะไม่ทำให้เกิดมลภาวะ และจะทำให้เบนซินมีคุณภาพดีขึ้นเช่นกัน
.....น้ำมันก๊าด (kerosene) เป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในระยะแรก ๆ เดิมน้ำมันก๊าดใช้จุดตะเกียงเท่านั้น แต่ปัจจุบัน น้ำมันก๊าดใช้
ประโยชน์อย่างอื่นได้หลายประการ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทา น้ำมันขัดเงา และเป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาดในด้านการเกษตร
ให้กำลังรถแทรกเตอร์ และใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
.....น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล (Diesel) ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีมูลฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน เพราะต้องการความร้อนที่เกิดจากการอัดอากาศ
อย่างสูงในลูกสูบ เชื้อเพลิงดีเซลใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ และเรือประมง
.....น้ำมันเตา (fuel oils) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำและเตาเผา หรือเตาหลอมในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือ
เดินสมุทร น้ำมันเตามี 3 ชนิด คือ
1. น้ำมันเตาอย่างเบามีความหนืดต่ำใช้กับหม้อน้ำขนาดเล็ก
2. น้ำมันเตาอย่างกลางมีความหนืดปานกลางใช้กับหม้อน้ำขนาดกลาง
3. น้ำมันเตาอย่างหนักมีความหนืดสูงใช้กับเตาเผาในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์
การใช้พลังงานปิโตรเลียมอย่างประหยัดและถูกวิธี
.....ประโยชน์ของพลังงานปิโตรเลียมมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือ การนำพลังงานปิโตรเลียมมาใช้กับยวดยานพาหนะและเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดต่าง ๆ
ทางอ้อมคือ การนำพลังงานปิโตรเลียมมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในอาคารบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม
..... การใช้พลังงานปิโตรเลียมจึงควรใช้อย่างประหยัดและถูกวิธี เพราะพลังงานปิโตรเลียมเป็นพลังงานที่เมื่อใช้แล้วจะหมดสิ้นไปจากโลก และพลังงานปิโตรเลียม
เป็นพลังงานที่ติดไฟง่าย จึงมักเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้เนือง ๆ
.....การใช้พลังงานปิโตรเลียมทางตรงอย่างประหยัดและถูกวิธี มีหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้คือ
......1. การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ ให้สม่ำเสมอ ใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นให้เหมาะสม ทำความสะอาดเครื่องยนต์ให้ถูกวิธี ใช้งานตามความสามารถและ
ใช้อย่างถนอม ปรับแต่งเครื่องยนต์ เช่น ตั้งศูนย์ปรับแต่งรอบเผาไหม้ เป็นต้น
......2. เลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสมกับกำลังเครื่องยนต์ หลีกเลี่ยงเชื้อเพลิงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การใช้แก๊สกับเครื่องยนต์อาจเกิดอันตรายง่ายเพราะไวไฟ
กว่าน้ำมันเบนซิน เป็นต้น
......3. หลีกเลี่ยงวัสดุติดไฟหรือการกระทำใด ๆ ที่ประมาทอาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ กำหนดสถานที่เก็บเชื้อเพลิงให้ปลอดภัยที่สุด
......4. การใช้แก๊สหุงต้มควรเลือกถัง หัวเตาที่ได้มาตรฐาน หมั่นตรวจสอบรอยรั่วและปิดให้เรียบร้อยหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว

......การใช้พลังงานปิโตรเลียมทางอ้อมอย่างประหยัดและถูกวิธี มีหลักการที่สำคัญ ๆ ดังนี้คือ
......1. สำรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีอะไรบ้าง เพื่อทราบจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับความจำเป็น
......2. สำรวจดูเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว เพื่อให้ทราบว่าแต่ละตัวมีขนาดกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์ ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดมีวัตต์สูงจะกินไฟมาก ถ้ามีวัตต์ต่ำจะกินไฟน้อย
ควรสนใจเครื่องใช้ที่วัตต์สูง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เพื่อหาทางประหยัด รู้ได้อย่างไรว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์
......3. เลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานในบ้าน เช่น ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนการใช้หลอดไส้เพราะ
ประหยัดไฟฟ้ากว่า
......4. เมื่อเลิกใช้ไฟฟ้าควรปิดสวิตช์หรือถอดปลั๊กทันที
......5. ไม่ควรใช้เครื่องไฟฟ้าพร้อม ๆ กันหลายตัว ทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และอาจทำให้สายไฟฟ้าในบ้านร้อนจนเกิดเพลิงไหม้ได้
......6. บำรุงรักษาและหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ

น้ำมันดิบ

น้ำมันดิบ (Crude oil) คืออะไร?

น้ำมันดิบคือสารประกอบของไฮโดรคาร์บอนกับสารเคมีอื่นๆ จำนวนเล็กน้อย เช่น สารประกอบซัลเฟอร์ ไนโตรเจน และออกซิเจน โดยการที่จะนำสารต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ได้ พวกมันจะต้องถูกแยกออกออกจากกันเสียก่อน กระบวนการแยกเรียกว่าการกลั่น (Refining) น้ำมันดิบที่แตกต่างกันในแต่ละที่ของโลก หรือแม้แต่ความลึกที่แตกต่างกันของน้ำมันหลุมเดียวกันเองก็ยังคงบรรจุสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารประกอบอื่นๆ ที่แตกต่างกัน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมพวกมันจึงมีตั้งแต่สารระเหยง่ายสีอ่อนไปจนถึงน้ำมันดำขุ่นหนา (หนามากเสียจนมันยากที่จะปั้มมันขึ้นมาจากพื้นดินเสียด้วยซ้ำ)



ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) คืออะไร?


ก๊าซธรรมชาติคือสารประกอบของไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นเพียงโมเลกุลเล็กๆ โดยโมเลกุลเหล่านี้สร้างจากอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ตัวอย่างเช่นก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในบ้าน(ก๊าซหุงต้ม) โดยส่วนใหญ่คือมีเทน CH4



น้ำมันดิบ (Crude oil) และ ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) เกิดจากอะไร?


นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเมื่อสัตว์และพืชต่างๆ ตาย พวกมันจะถูกชะล้างโดยน้ำฝน และไหลจมลงสู่ก้นทะเลและทะเลสาบต่างๆ ซึ่งพวกมันจะถูกทับถมโดยชั้นของตะกอนต่างๆ (sediment-สิ่งที่ทับถมกันลงมา เช่น ซากพืช ซากสัตว์ หิน ดิน ทราย) [ดูรูป 1.1] และกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่ซากเหล่านี้จะสามารถย่อยสลายไปในอากาศ Anaerobic bacteria (แบคทีเรียซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ใช้ออกซิเจน) จะเริ่มกระบวนการย่อยสลายสารพวกนี้ให้กลายเป็นน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ โดยคาดว่ามันจะมีกระบวนการทางเคมีที่เกี่ยวข้องกันระหว่างซากสิ่งมีชีวิต เกลือที่อยู่ในดินโคลนและน้ำที่อยู่รอบๆ ตัวพวกมันเพราะดูเหมือนว่ามันจะมีวิธีการแตกต่างกันในการเกิดเป็นน้ำมัน

รูป 1.1



ในขณะที่ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ถูกย่อยสลาย พวกมันก็จะถูกทับถมโดยตะกอนต่างๆ มากขึ้น จากน้ำขึ้นและน้ำลงของทะเล และโคลน ทรายที่แม่น้ำพัดลงมา โดยกระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เป็นล้านๆ ปีเลยทีเดียว แต่ในที่สุดสารต่างๆ ก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน[Hydrocarbon] ซึ่งใช้สร้างน้ำมันและก๊าซโดยมีส่วนผสมของทรายและดินเหนียวเข้ามาเจือปน [ดูรูป 1.2] และเมื่อชั้นของสารอินทรีย์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ค่าความดันและอุณหภูมิซึ่งเป็นปัจจัยของกระบวนการเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการเกิดขึ้นได้เร็ว

รูป 1.2


มีสิ่งหนึ่งที่เราควรจะรู้ นั่นคือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่ได้สร้างทะเลน้ำมันไว้ใต้ดินอย่างที่ทุกๆ คนเข้าใจ พวกมันจะถูกผสมเข้ากับน้ำและทรายซึ่งซึมผ่านเข้ามาทางชั้นรูพรุนของหินทราย(Sandstone-หินที่มีส่วนผสมของทรายหรือแร่ควอทซกับดินเหนียว แคลเซียมคาร์บอร์เนต และ ไอออนออกไซด์) หรือ หินปูน (limestone- หินที่ประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอร์เนต (CaCO3)) พร้อมกับฟองอากาศของก๊าซ [ดูรูปที่ 1.3] โดยปกติความดันจะช่วยบังคับให้เกิดการผสมกันระหว่างหินพวกนี้ โดยน้ำมันและก๊าซจะถูกกักอยู่ระหว่างช่องว่างของหินตะกอน (sedimenatary rock-หินที่เกิดจากการทับถมกันของตะกอนต่างๆ ในทะเลโบราณ) เหมือนกับน้ำในฟองน้ำ และในที่สุดน้ำมันและก๊าซก็จะพบกับชั้นของหินซึ่งไม่สามารถผ่านไปได้ (หินที่ไม่มีรูพรุน) และพวกมันก็จะถูกกัก(trap) อยู่ในนั้น [ดูรูป 1.4]

รูป 1.3 รูป 1.4


การกลั่นน้ำมัน

Fractional distillation (การกลั่นลำดับส่วน)
รูป 1.5 Fractional distillation


น้ำมันดิบคือสารประกอบอันซับซ้อนของไฮโดรคาร์บอนซึ่งสารประกอบต่างๆ จะขึ้นอยู่กับที่มาของแหล่งนั้นๆ สารไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบจะมีจุดเดือดที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจำนวนคาร์บอนและการจัดตัวในโมเลกุล การกลั่นลำดับส่วนใช้จุดเดือดที่แตกต่างกันในการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบ โดยที่คอลัมน์ด้านบนจะเย็นกว่าทางด้านล่าง ดังนั้นไอต่างๆ จึงเย็นตัวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมันขึ้นสู่ด้านบนโดยไอเหล่านี้จะกลั่นตัวบนถาดเมื่อพวกมันมาถึงส่วนของคอลัมน์ที่เย็นกว่าจุดเดือดของมัน


เมื่อสารต่างๆ ออกมาจากคอลัมน์พวกมันยังต้องผ่านกระบวนการต่างๆ อีกมาก เช่น thermo cracking hydrotreating กว่าจะมาเป็นสิ่งของที่พวกเราใช้กันในวันนี้ได้ เพราะงั้นเราควรใช้สิ่งของต่างๆ อย่างรักษานะคะ ^-^


- คำถาม ทำไมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติถึงเรียกว่า fossil fuels?

คำตอบ เพราะว่าน้ำมันและก๊าซเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่เมื่อหลายล้านปีที่แล้วเหมือนกับ fossils



* ข้อมูลจาก
http://www.schoolscience.co.uk/content/4/chemistry/fossils/ และท่านอาจารย์ที่สั่งสอน